12 วิธีการเพิ่ม EQ นำไปปรับใช้ได้เลย ไม่ยาก

พัฒนา EQ

EQ เป็นอีกสิ่งที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือชี้วัด บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งมีความผูกพันไปจนถึงเรื่องการประสบความสำเร็จในชีวิตด้วย โดยคนที่มี EQ สูงกว่ามักจะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า ที่สำคัญคือ คน EQ สูงกว่าจะมีความสุขที่มากกว่า เป็นเรื่องดีที่ EQ ก็สามารถฝึกได้เพราะว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของนิสัย เราสามารถฝึกได้ ทำให้ดีขึ้นได้ 

วันนี้ไปเจอบทความ ที่ว่าด้วยเรื่องการเพิ่ม EQ ของเราได้ ดูรายการทำ 12 ข้อต่อไปนี้

นิ่งก่อนตอบ 

ถ้ามีใครถามอะไรคุณบางอย่างสิ่งที่คุณต้องทำก็คือ อย่าตอบทันที ให้นิ่งเข้าไว้ หยุดเงียบและพิจารณาก่อนตอบ ไม่ว่าจะเป็น 5, 10 หรือ 15 วินาที แล้วค่อยตอบคำถาม 

เมื่อเรานิ่ง อารมณ์ของเราจะอยู่ภายใต้การควบคุมของตัวเราทันที และเป็นการลดความกดดันด้วย เคยเห็นคนทะเลาะกันไหม ยิ่งตอบเร็วเท่าไหร่ ลิ้นยิ่งพันกัน และอารมณ์ยิ่งพุ่งพ่านขึ้นไปเรื่อยๆ การที่เราหยุดนิ่งจะเป็นการทำให้เรารู้สึกตัว และมีเวลาคิดก่อนที่จะตอบคำถาม 

ใช้กฎ 3 ข้อ

ก่อนที่เราจะพูดอะไรออกไปจะมี 3 หัวข้อที่ถามตัวเราก่อนเสมอ นั่นก็คือ 

  • สิ่งนี้จำเป็นต้องพูดไหม 
  • สิ่งนี้จำเป็นต้องพูดโดยเราไหม 
  • สิ่งนี้จะเป็นต้องพูดตอนนี้โดยเราไหม 

ควบคุมความคิดของเราเอง 

ในหลายๆครั้งเราไม่สามารถควบคุมอารมณ์ หรือความรู้สึกของตัวเราได้ แต่ว่าเราสามารถควบคุมความคิดของตัวเราได้ 

ตัวอย่าง ช่วงที่ผ่านมาเราตกอยู่ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของวิกฤตไวรัส ถ้าได้อ่านข่าวมากๆเราจะรู้เลยว่าไวรัสมันน่ากลัว มันฆ่าชีวิตคนไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งเราก็ไม่รู้ว่าตัวเราติดแล้วหรือยัง แต่เราก็ผ่านมาได้ โดยที่ตัวเราก็ไม่ได้เป็นอะไร ถ้าเราย้อนกลับไปแก้ความคิดในตอนนั้น โดยการสนใจเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสให้น้อยลง เปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่นให้มากขึ้น เราก็จะมีความวิตกกังวลน้อยลงกว่าที่เป็นตอนนั้นแน่นอน นั่นคือการควบคุมความคิดของเรา อย่าปล่อยให้ไหลไปตามอารมณ์

รับฟังคำแนะนำ 

ไม่มีใครอยากจะถูกนินทาหรอก แต่ว่าข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำจากคนอื่นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผิดหรือถูกนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำจากคนอื่นนั้น เป็นสิ่งที่คนอื่นมองเห็นตัวเรา (ซึ่งโดยปกติเราจะมองตัวเองไม่เห็น)

แน่นอนว่าพวกข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำ ก็ไม่ได้สวยหรูเสมอไป และนั่นก็เป็นเหตุว่าทำไมเราอย่าตอบสนองในทันที (ลองอ่านข้อแรกอีกครั้ง) จากนั้นลองถามตัวเองดู ว่าคำแนะนำจากคนอื่นจะสามารถช่วยพัฒนาตัวเราได้หรือเปล่า หรือจะสามารถทำให้ช่วยเข้าใจคนอื่นได้มากขึ้นหรือเปล่า

ให้คำแนะนำอย่างสร้างสรรค์ 

การให้คำแนะนำกับผู้อื่นจะแตกต่างไปจากการรับฟัง เพราะว่าเราจะต้องมุ่งเน้นไปที่การยกย่องด้วยความจริงใจ สิ่งนี้จะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้คนเราพยายามทำในสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ต่อไป 

เขากำลังทำอะไรที่ผิดพลาดก็ไม่ต้องไปให้ความสำคัญกับความคิดเชิงลบมากนัก กลับกันตีกรอบการให้คำแนะนำอย่างสร้างสรรค์  ตัวอย่าง ให้คำแนะนำว่าเราเคยทำผิดพลาดยังไง จนกระทั่งมีคนมาแนะนำให้เราแก้ไข เราจึงได้แก้ไขและปรับปรุงได้ ในแนวทางนี้เขาก็จะมองเราเป็น partner ที่ต้องการจะช่วยเหลือกัน ไม่ใช่อยู่ฝั่งตรงข้ามที่จ้องจะทำร้ายกัน 

กล้าปฏิเสธและกล้ารับปาก 

มีไหมที่บางครั้งเวลาที่คุยงานกันในวงแล้วมีความเห็นที่ไม่ลงตัวกัน สถานการณ์ก็ตัดจบตรงที่ว่า ไม่มีใครตัดบทสรุปได้ว่าจะต้องเป็นแบบไหนอย่างไร ไม่อยากมีใครรับผิดชอบ ใครที่ให้ความเห็นอะไรก็กลัวว่าจะต้องรับเรื่องนั้นไปทำ ถ้าเป็นสถานการณ์อย่างนี้จะต้องทำอย่างไร 

ก็กล้าปฏิเสธและรับปาก 

เราต้องการปฏิเสธในความคิดบางเรื่องที่น่าจะไม่ถูกต้อง และเราก็รับปากในสิ่งที่เราคิดว่าถูกต้องและน่าจะทำได้ หลังจากนั้นเราก็เดินหน้าทำไปอย่างเต็มที่ เพื่อแสดงให้ทุกคนเห็นว่าความคิดของเราถูกต้อง การทำแบบนี้จะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเราเอง และในเวลาไม่นานทุกคนก็จะเริ่มลุกขึ้นมาคิดแล้วก็ทำแบบเรา เพราะคนส่วนใหญ่ต้องการทำความคิดของตัวเองให้ออกมาเป็นความจริงอยู่แล้ว โดยมีเราเป็น role model ที่ทำสำเร็จนั่นแหล่ะ

แสดงความเอาใจใส่

เป็นเรื่องธรรมดาที่การพูด ง่ายกว่าการลงมือทำ และการแสดงออกถึงความเอาใจใส่นั้นก็คือ การไม่ตัดสินใจผิดหรือถูกในสถานการณ์ของคนอื่น แต่มุ่งเป้าไปที่ความรู้สึกของคนเหล่านั้นต่างหาก 

เหมือนเดิม ก็คือเริ่มต้นด้วยการฟังไม่ใช่การขัดจังหวะในขณะที่เขาเล่าให้ฟัง และอย่าไปพูดว่า “นั่นมันไม่ใช่เรื่องใหญ่, เราเคยทำสิ่งนี้มาก่อนก็แค่ลงมือทำมันสิ” แต่สิ่งที่ควรทำก็คือถามตัวเองว่า “ครั้งสุดท้ายที่เรามีความรู้สึกแบบนั้น เราอยากให้คนอื่นคิดและทำกับเราอย่างไร”

ความเอาใจใส่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องเห็นด้วยตรงกัน แต่จริงๆแล้วมันคือการทำความเข้าใจคนอื่นเพื่อจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แข็งแรงมากขึ้น 

ขอความช่วยเหลือ 

ในบางครั้งเราก็ไปเจอสถานการณ์ที่ยากลำบาก ในบางครั้งเราก็ต้องยืนเป็นผู้นำเพื่อคอยแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆด้วยตัวของเราเอง แต่ก็ต้องเข้าใจว่าบางครั้งการเป็นผู้นำอยู่คนเดียว ก็เป็นเรื่องที่อันตรายอยู่พอสมควร 

เทคนิคก็คือเวลาที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่น เราต้องบอกว่า เขามีคุณค่าสำหรับเราอย่างไร ตัวอย่างเช่น “เราจะทำสิ่งนี้ไม่ได้เลยถ้าขาดคุณ” หรือ “ถ้าเราจะทำสิ่งนี้ก็ต้องมีคุณที่ทำด้วยกัน”

นี่เป็นการเปิดให้คนอื่นช่วยเหลือเราโดยที่ทำให้เขารู้สึกดี และเป็นการเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมทำงานร่วมกันแบบ partner ที่มุ่งเป้าไปสู่ความสำเร็จเดียวกัน (ไม่ใช่รู้สึกว่าเราใช้เค้า)

ช่วยเหลือคนอื่น

ในทางกลับกัน นอกเหนือจากที่เราจะขอความช่วยเหลือคนอื่นในบางครั้งเราก็เป็นคนที่จะสามารถช่วยเหลือคนอื่นเองได้ ถ้าจะเป็นไปได้ก็คือไม่ต้องรอไห้เขาขอความช่วยเหลือ ถ้าเรามองเห็นแล้วว่าเขาน่าจะต้องการความช่วยเหลือก็เสนอตัวเองไปช่วยเขาได้เลย 

หรือจะดีกว่านั้นก็คือลงไปร่วมทำไปด้วยกัน 

แสดงให้เห็นความเต็มใจที่จะร่วมไปทำงานที่น่าเบื่อไปด้วยกัน นั่นจะเป็นการสร้างความเชื่อใจ และความประทับใจต่อกันได้มากขึ้น 

ขอโทษ 

บางครั้ง เราก็พูด หรือทำบางอย่างลงไปแล้วเรามานั่งคิดย้อนว่า ไม่น่าทำหรือพูดแบบนั้นเลย แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะพูดขอโทษ แต่ถ้าหากได้พูดไปแล้ว ก็จะเป็นการแสดงความนอบน้อมที่เรามีให้กับคนอื่น 

และสิ่งหนึ่งก็คือการขอโทษไม่ได้หมายถึงว่าเราเป็นฝ่ายผิด แต่มันหมายถึงเราให้คุณค่ากับความสัมพันธ์มากกว่าอัตตาที่เรามีต่างหาก

ให้อภัย

ถ้ามีบางคนที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดี ไม่พอใจเราจะทำอย่างไร ไม่ว่าด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม สิ่งนั้นก็ไม่ได้มีคุณค่าที่จะทำให้เราต้องเก็บมาคิดต่อเนื่องต่อไป ในชีวิตจริงก็คือสิ่งที่เขาทำไม่ดีต่อเรามันจบไปแล้ว แต่ตัวเราเองต่างหากที่ยังเก็บมาคิดต่อเนื่อ งเหมือนเราหยิบมีดขึ้นมาแทงตัวเองซ้ำๆ

และงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ ก็บอกว่าการให้อภัย งั้นจะช่วยเพิ่ม ความสามารถในด้าน Physical, Mental , Emotional อีกด้วย

เป็นตัวของตัวเอง

หลายคนพยายามเปลี่ยนตัวเอง เหมือนอย่างที่คนอื่นอยากให้เป็น แม้ว่าตัวเราเองก็ยังไม่แน่ใจว่าเราอยากจะเป็นแบบนั้นหรือเปล่า แต่เพราะคิดว่าคนอื่นอยากให้เราเป็นแบบนี้ ดังนั้น ถ้าเราเป็นแบบนี้ ก็น่าจะดี

แต่หารู้ไม่ว่าการทำแบบนั้น มันเป็นตัวที่ค่อยๆทำลายความน่าเชื่อถือ ที่คนอื่นมีต่อเราลงไปเรื่อยๆ เพราะยังไงก็ตาม คนอื่นเค้าก็มองเห็นอยู่ดีว่าแท้จริงแล้วเราเป็นคนแบบไหน

ดังนั้น อย่าอายที่จะเป็นตัวของตัวเอง พูดแบบจริงใจ ตรงไปตรงมา และรักษาคำพูดความคิดให้เป็นตัวเรา

ทำแบบนี้แล้ว ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะชอบเราหรอก แต่ว่าคนที่มีความสำคัญกับเราเค้าชอบในตัวเราที่เราเป็น นั่นก็มากพอแล้ว

One thought on “12 วิธีการเพิ่ม EQ นำไปปรับใช้ได้เลย ไม่ยาก

  1. ขอบคุณมากนะคะ สำหรับบทความดีๆ ได้คีย์สำคัญที่สามารถนำมาปรับใช้ได้จริงเยอะเลย เป็นบทความที่มีพลังมาก คนเขียนใส่ใจลงไป และมาจากประสบการณ์จริง ปรับใช้ได้จริง ติดตามอยู่นะคะ ตามอ่านทุกโพสต์เลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *